วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

เงาะ (Rambutan)

เงาะ (Rambutan)




ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Nephelium lappaceum
 
เงาะ เป็นผลไม้เมืองร้อน คนไทยเรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า "เงาะ" เพราะลักษณะภายนอกของผล มีขนขึ้นตามเปลือกคล้ายกับผมบนหัวของคนป้าที่มีผมหยิกหยอยที่เราเรียกกว่า "เงาะซาไก" มีชื่อสามัญว่า Rambutan ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nephelium lappaceum L. เงาะมีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรมลายูทางเขตที่ราบตะวันตก จากนั้นจึงแพร่ขยายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศเขตร้นอื่น ๆ เช่น ศรีลังกา และไปไกลถึงเกาะซานซิบาร์ ทวีปแอฟริกา ชาวมลายูเรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า "rambut" ซึ่งหมายถึง "ผมหรือขน" ต่อมามีการเรียกเพี้ยนไปเป็น "rambutan" แต่ก่อนฝรั่งเห็นเงาะก็บอกว่า "ประหลาดมาก" จึงเปรียบเป็น "เชอร์รีมีขน" เงาะจากมลายูถูกน้ำเข้ามาปลูกทางภาคใต้ของประเทศไทย แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าตั้งแต่เมื่อใด

• เงาะเป็นพืชยืนต้นในวงศ์ Sapindaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับลิ่นจี่และลางสาด ลำต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่เปลือกสีเทาแก่ปนน้ำตาล ใบเป็นใบรวม มีใบย่ยอ 2-4 คู่ ใบเขียวเป็นมัน ออกดอกสีเหลืองตามกิ่งหรือยอด ผลเงาะมีทั้งผลกลมแบน และยาวแบน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 4-5 ซม. เปลือกนอกหนา มีขนอยู่รอบผล ขนเป็นสีเหลือง แดง หรือชมพู เปลือกล่อนจากเนื้อ เนื้อเงาะสีขาวหรือนวลใสหุ้มเมล็ด รสหวาน หรือหวานอมเปรี้ยว ขึ้นอยู่กับพันธุ์ 

• เงาะในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ สามารถแยกประเภทได้ 3 ประเภท คือ พันธุ์ดั้งเดิม เช่น พันธุ์อากร สีนาก เจ๊ะหมง เปเรก นังเบอร์ลี ตาวี ซงลังงอร์ ฯลฯ พันปรับปรุง เช่น พลิ้ว1 พลิ้ว2 และเงาะพันธุ์ที่นิยมปลูกบริโภคซึ่งมีหลายพันธุ์เช่นกัน ดังนี้ 
พันธุ์โรงเรียน เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ลักษณะผลเมื่อแก่จัดเปลือกเป็นสีแดงสวย แต่ที่ปลายขนยังมีสีเขียว เป็นเงานยอดนิยมในเมืองไทย เนื่องจากมีรสชาติหวาน เนื้อกรอบล่อนจากเมล็ด เปลือเมล็ดบางไม่แข็ง 
 ความเป็นมาของเงาะโรงเรียน เริ่มจากชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนชื่อ นาย เค หว่อง อาชีพทำเหมืองแร่ดีบุกเป็นผุ้นำเมล็ดพันธุ์จากปีนังเข้ามาปลูกที่บริเวณบ้าน พักในอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อ พ.ศ. 2469 ต่อมาเลิกกิจการเหมืองแร่และได้ขายบ้านพักให้แก่กระทรวงธรรมการหรือกระทรวง ศึกษาธิการในปัจจุบัน ทางราชการจึงปรับปรุงบ้านพักเพื่อใช้เป็นอาคารเรียน และย้ายโรงเรียนนาสารมาอยู่ที่นี่เมื่อ พ.ศ. 2479 ต้นเงาะที่อยู่ติดโรงเรียนนี้ขยายพันธุ์จนกลายเป็นที่นิยมบริโภคกันมาก จึงเป็นที่มาของชื่อว่า "เงาะโรงเรียน"§

พันธุ์สีชมพู เป็นเงาะพันธุ์พื้นเมืองที่เกิดในจังหวัดจันทบุรี เมื่อสุกจะมีสีชมพู ไม่แดงจัด มีขนยาว เปลือกหนาเนื้อเหนียว ไม่ล่อน รสหวาน ปลูกมาในภาคตะวันออกมีข้อเสียคือ เก็บได้ไม่นาน เนื้อเป้นน้ำและขนอ่อนช้ำง่าย 

พันธุ์สีทอง เป็นพันธุ์ดังเดิม มีปลูกในจังหวัดจันทบุรีและตราด ส่วนใหญ่พ่อค้าคนกลางจะนำมาขายปนกับเงาะโรงเรียน เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงกัน ลักษณะเด่นคือผลใหญ่มาก ขนยาวสีแดง ปลายมีสีเขียว เมื่อสุกเปลือกมีสีแดงเข้ม เนื้อมีสีขาวค่อนข้างใส เมล็ดค่อนข้างแบนสีขาวปนน้ำตาล เมื่อเก็บจากต้นใหม่ ๆ จะมีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย แต่ถ้าทิ้งไว้ 1-2 คืน จะมีรสหวานแหลมขึ้นและมีกลิ่นหอม 

พันธุ์น้ำตาลกรวด เป็นเงาะพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์บางยี่ขันและพันธุ์โรงเรียน ผลมีลักษณะคล้ายเงาะโรงเรียนเมื่อเริ่มสุกผลจะมีสีเหลืองเข้ม โคนขนสีชมพุและส่วนปลายขนมีสีเขียวอ่อนอมเหลือง เมื่อสุกเต็มที่ดคนขนจะขยายห่างกัน เปลือกผลค่อนข้างหนา เนื้อสีขาวขุ่น เมื่อห่ามมีรสเปรี้ยวอมฝาด แต่เมื่อสุกเต็มที่จะมีรสหวานแหลม กลิ่นหอม เนื้อกรอบล่อนจากเมล็ด และมีเปลือกเมล็ดติดเนื้อค่อนข้างมาก เมล็ดแบนค่อนข้างกว้างและสั้นมีสีขาวอมเหลืองคล้ายงาช้าง

• เงาะที่ปลูกในภาคใต้และภาคตะวันออกจะออกสู่ตลาดไม่พร้อมกัน เงาะจากภาคตะวันออกจะออกสุ่ตลาดประมาณเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ส่วนเงาะจากภาคใต้ออกสู่ตลาดประมาณเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน แหล่งปลูกเงาะที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด และสุราษฎร์ธานี 

• เงาะเป็นผลไม้กินสด นำมาคว้านเมล็ดออก เสิร์ฟสดก็ได้หรือนำไปทำเป็นเงาะลอยแก้ว หรือแปรรูปเป็นเงาะบรรจุกระป๋อง

คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ: 
เงาะเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีขายกันอยู่ทั่วไป เป็นผลไม้รสหวาน มีฤทธิ์อุ่น ไม่มีพิษ เงาะอุดมด้วยวิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ใยอาหาร(Fiber) ช่วยในการป้องกันโรคหวัด มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง นอกจากนี้เงาะสดสามารถแก้อาการท้องร่วงชนิดรุนแรงได้ผลดี ถ้านำเปลือกมาต้มกินน้ำใช้เป็นยาแก้อักเสบได้ เพราะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการอักเสบในช่องปาก และโรคบิดท้องร่วง ข้อควรระวังอย่างหนึ่งคือ เม็ดของเงาะไม่ควรจะรับประทาน เพราะมีพิษ ที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง เวียนศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้ และอาเจียน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น