วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

Fruit In Thailand : กล้วย

กล้วย(Banana)



ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Musa spp.

กล้วย ในภาคอีสานและภาคเหนือเรียกเหมือนกัน คือ ก้วย ส่วนภาคใต้เรียกว่า กลวย มีชื่อสามัญว่า Banana ซื่อวิทยาศาสตร์ว่า Musa spp. คำว่า Musa มาจากคำอาหรับ Muz หมายถึงกล้วย ซึ่งคำว่า Muz มีรากศัพท์มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า Muz มีรากศัพท์มาจากคำภาษาสันสฤตว่า Mocha ซึ่งหมายถึงกล้วยเช่นกัน ส่วนคำว่า Banana นั้นเรียกชื่อตามภาษาแอฟริกาตะวันตกที่ชาวพื้นเมืองใช้เรียกกล้วย เมื่อโปรตุเกสและสเปนเข้าครอบครองหมู่เกาะกินีและคานารีก็เรียกตามกัน และเมื่อมีการนำกล้วยไปปลูกกันเป็นล่ำเป็นสันที่อเมริกากลางและอเมริกาใต้ โดยใช้แรงงานทาสแอฟริกาตะวันตก คำว่า Banana  จึงแพร่หลายกว้างขวาง จนกลายเป็นคำสามัญที่ใช้เรียกกล้วยในปัจจุบัน

กล้วยเป็นพันธุ์ไม้ท้องถิ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นพืชพื้นถิ่นที่มีอยู่ในประเทศไทยมานานแล้วกล้วยเป็นผลไม้เก่าแก่พอ ๆ กับข้าวที่มีในท้องถิ่นภูมิภาคนี้ เช่นกัน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่า มีการเดินเรือค้าขายระหว่างเกาะชวากับแอฟริกาตะวันออก โดยเฉพาะเกาะมาดากัสการ์ ตั้งแต่หลายร้อยปีก่อนคริสตกาล สินค้าสำคัญจากชวาก็คือ ข้าวและกล้วย แม้แต่อินเดียซึ่งเป็นแหล่งผลิตกล้วยสำคัญทั้งในอดีตและปัจจุบัน ก็ได้รับกล้วยป่าจากการเดินเรือค้าขายระหว่างอินเดียตอนใต้กับอุษาคเนย์ ตั้งแต่หลายพันปีก่อน กล้วยเจริญงอกงามดีในบริเวณอากาศอบอุ่นชุ่มชื้น ภายหลังจึงแพร่พันธุ์ไปทั่วเอเชียและส่วนอื่น ไ ของโลกที่เขตอบอุ่นชุ่มชื้นเช่นกัน

กล้วยเป็นไม้ล้มลุกขนาดใหญ่ มีลำต้นอยู่ใต้ดินที่เรียกว่า "เหง้า" ลำต้นเทียมที่อยู่บนดินเกิดจากการหุ้มช้อนกันของกาบใบ ใบกล้วยเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ยาว ผิวหน้าใบสีเขียวเป็นมัน มีเส้นนูนตั้งฉากกับก้านใบ ท้องใบมีนวลเคลือบ กล้วยออกดอกเป็นปลี กาบปลีมีแดงอมม่วงใต้กาบประกอบไปด้วยผลกล้วยที่อยู่ติดกันเป็นหวี ผลกล้วยมีลักษณะยาวรี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 2-4 ซม. ยาว 8-15 ซม. ผลกล้วยดิบเปลือกแข็งสีเขียว กล้วยสุกเปลือกสีเหลืองหรือเขียวแล้วแต่พันธุ์ เนื้อสีเหลือง รสหวาน มีเมล็ดสีดำเล้ก ๆ แทรกอยู่บริเวณกลางผล

กล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่าย ขึ้นได้ทั่วไป ต้นหนึ่งตกเครือเพียงครั้งเดียว ต้นก็จะตายไป กล้วยเป็นพืชกอ มีการแยกหน่อทดแทนต้นที่ตายไป ดังนั้นกล้วยจึงตกเครือได้ตลอดปีแต่ก็ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของกล้วยนั้น ๆ เช่น กล้วยไขจะให้ผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมเท่านั้น

ปัจจุบันมีการเพาะปลูกกล้วยอยู่ทั่วไปในแถบเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปทาง เหนือและลงมาทางใต้ ประเทศที่มีดินฟ้าอากาศเหมาะสมจะมีการปลูกกล้วยเพื่อบริโภคในท้องถิ่น เช่น ประเทศในทวีปแอฟริกา เอเชีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก สำหรับเมืองไทย กล้วยเป็นพืชที่ขึ้นได้ทุกภาค แหล่งที่ปลูกกล้วยมากที่สุดได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร กาญจนบุรี เพชรบุรี ตาก ชุมพร และ ระนอง นครราชสีมา และหนองคาย

ประเทศไทยมีกล้วยกินได้มากมายกว่า 60-70 พันธุ์ พันธุ์ที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ได้แก่       

กล้วยน้ำหว้า
             
1. กล้วยน้ำว้า กล้วยพื้นบ้านของไทย มีหลายสายพันธุ์ เช่นกล้วยน้ำว้ากาบขาว กล้วยน้ำว้าค่อม กล้วยน้ำว้าแดง กล้วยน้ำว้าเขีย และกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง กล้วยน้ำว้าเมื่อดิบเปลือกสีเขียว (นอกจากเป็นกล้วยน้ำว้าเปลือกดำที่พบที่วันสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี) เนื้อแน่น มีรสฝาด เมื่อสุกเปลือกเหลืองบาง เนื้นแน่นนิ่ม กลินหอมและรสหวานจัดยิ่งขึ้น กินทั้งแบบดิบ ด้วยการนำไปปรุงสุกเป็นแกงกล้วยทำตำกล้วย ผัดผลกลับ กล้วยปิ้ง กล้วยบวชชี กล้วยเชื่อม กล้วยฉาบ กล้วยตาก กล้วยกวน และกินสุกเป็นผลไม้
2. กล้วยหอม เป็นกล้วยที่เราพบเห็นทั่วไป กล้วยหอมพันธุ์มีหลายพันธุ์ เช่น กล้วยหอมทอง กล้วยหอมทองค่อม หล้วยหอมเขียว เปลือกเป็นสีเขีย รสหวานจัด มีกลิ่นหอม กล้วยหอมเขียวค่อม กล้วยหอมวิลเลียม กล้วยหอมพจมาน กล้วยหอมกระเหรี่ยง กล้วยหอมแกรนด์เนน และกล้วยหอมจันทน์ เป็นต้น เฉพาะกล้วยหอมทอง เป็นกล้วยพาณิชย์ที่มีขายทั่วไป อิวเปลือกสีเหลือง รสหวานจัด เนื้อเนียนละเอียด กินสุกเป็นผลไม้ ผสมในน้ำมัน และทำเป็นไส้กล้วยในโรตีและมะตะบะ
3. กล้วยหอมทอง เป็นกล้วยหอมพันธุ์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งลำต้นขนาดใหญ่ แข็งแรง ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้างและมีปีก ก้านช่อดอกมีขน ผลยาวรี ปลายคอด มีจุก เปลือกบางเมื่อดิบเปลือกสีเขียว เมื่อสุกเปลือกกลายเป็นสีเหลืองทอง เนี้นสีส้มอ่อน กลิ่นหอม รสหวาน เนื้นนุ่มเนียน
4. กล้วยหอมที่ค้าขายกันในโลกส่วนใหญ่เป็นกล้วยหอมคาเวนดิน (Cavendish)  และกรอสไมเคิล (Gros Michael) ซึ่งมีรสหวาน เปลือกสีเหลืองหนา ขั้วเหนียว อันเป็นคุณสมบัติที่เหมาะกับการขนส่งทางไกล
5. กล้วยหอมเขียว กาบใบมีจุดกระมากกว่ากาบกล้วยหอมทอง หวีหนึ่ง ๆ มีผลแน่นเป็นพิเศษกว่ากล้วยหอมใด ๆ มีถึง 32 ผล ผลสุกสีเขียวอมเหลือง ปลายผลทู่ เนื้อสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมรสหวาน จังหวัดแพร่เรียกว่า กล้วยคร้าว นครศรีธรรรมชารเรียกว่า กล้วยเขียว พะเยาเรียกกว่า กล้วยหอมคร้าว 

กล้วยไข่
6. กล้วยไข่ เป็นกล้วยที่ปลูกมากที่จังหวัดกำแพงเพชร เพชรบรี ตาก และสุรินทร์ เครือกล้วยไข่มีขนาดเล็ก แต่ละหวีมีผลดก ขนาดผลเล็ก ผิดสีเหลืองไข่ ผิวเปลือกบาง เนื้อสีเหลืองสวย รสหวานหอม กล้วยไข่ตกเครือในผลสุกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม ซึ่งตรงกับช่วงเข้าพรรษาที่มีการทำข้าวกระยาสารทถวายพระ กล้วยไข่เป็นผลไม้ที่นิยมกันคู่กับกระยาสารท จะได้รสชาติที่อร่อยลงตัวพอดี กล้วยไข่ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือ กล้วยไข่กำแพงเพชร ยังมีกล้วยไขสายพันธุ์อื่น ๆ เช่น กล้วยไข่พระตะบอง กล้วยไข่โบราณ และกล้วยไข่เล็กยโสธร ซึ่งมีเปลือกบางสีเหลืองรสหวานอร่อย เนื้อสีเหลืองไข่ เหนียวหวานหอม กล้วยไข่กินสุกเป็นผลไม้ ทำเป็นขนมหวาน กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี และแปรรูปเป็นกล้วยตาก
7. กล้วยนาก เปลือกกล้วยสีออกสีนาก คือสีอมแดงค่อนข้างคล้ำ (นากเป็นโลหะผสมระหว่างทองคำ เงินและทองแดง คนโบราณใช้ทำเข็มขัดนาก กำไลนาก)  พันธุ์กล้วยนากมีกล้วยนากแดง กล้วยน้ำครั่ง กล้วยครั่ง กล้วยกุ้งแดง ผลดิบผิวเขียวอมแดงหม่น ผลสุกผิวสีนากแดง มีกลิ่นหอม รสหวาน กึ่งกล้วยไข่กึ่งกล้วยหอม เนื้อออกสีเหลืองส้ม ชาวมาญและชาวกระเหรี่ยงน้ำมาบดป้อนลูกเด็กเล็กแดง เป็นกล้วยที่กินกันมากในประเทศพม่า
8. กล้วยหิน เป็นกล้วยคู่แม่น้ำปัตตานี ปลูกตามควน (ตามเนินแนวลาดของภูเขาหรือเนินเขา) แถวบันนังสตาจังหวัดยะลา เป็นกล้วยที่ช่วยเสริมรายได้ใช้ชาวบ้านอย่างมาก เพราะเมื่อนำไปแปรรูปแล้วจะอร่อยมาก กล้วยหินต้มที่สามแยกบ้านเนียง อำเภอบันนังสตา มีชื่อเสียงเลื่องลือว่าอร่อยมาก กล้วยหินฉาบจากตำบนถ้ำทะลุก็ดังไม่แพ้กัน
9. กล้วยหักมุก เป็นกล้วยที่นิยมนำมาปิ้กิน ตามแผงปิ้งกล้วยมักจะมีกล้วยหักมุกปิ้งทั้งเปลือกขายร่วมอยู่ด้วยเสมอ กล้วยหักมุกสุกห่ามเนื้อหยาบ รสหวาน่อนนอมเปรี้ยยวมีกลิ่นหอม เมื่อสุกเนื้อกล้วยจะแน่นขึ้นและมีสีเหลืองอร่ามน่ากิน นอกจากนี้ยังนำมาทำกล้วยหักมุขฉาบ ที่พม่ากินกล้วยหักมุกสุกเป็นผลไม้ กล้วยส้มเป็นกล้วยหักมุกขนิดหนึ่ง ปลูกที่จังหวัดจันทบุรี
10. กล้วยตานี เป็นกล้วยป่าที่มาจากประเทศอินเดีย ปลูกเพื่อน้ำใบมาใช้เป็นใบตอง ผลกล้วยมีเมล็ด นอกจากนี้ผลดิบใช้ปรุงเป็นอาหาร เช่น ส้มตำกล้วยดิบ กินกับแหนมเนือง อาหารเวียดนาม นำไปดองหรือแกง เป็นต้น 

กล้วยเล็บมือนาง
11. กล้วยเล็บมือนาง เป็นกล้วยกลายพันธุ์มาจากกล้วยป่าปลูกันมากทางภาคใต้โดยเฉพาะที่จังหวัด ชุมพร อำเภอหลังสวน นับเป็นกล้วยที่แพร่หลายมากชนิดหนึ่ง (คนนครศรีธรรมราชเรียกว่า กล้วยหมาก พัทลุงเรียกว่า กล้วยทองหมาก นครสวรรณ์เรียกว่า กล้วยเล็บมือ เลยเรียกว่า กล้วยหอม) มีลำต้นผอมสูง กาบด้านนอกสีชมพูอมแดง ผลมีขนาดเล็กเท่านิ้วมือ ปลายยาวเรียว โค้งงอ ปลายผลมีจุกสีดำเล้กแหลมเป็นก้านเกสร เรียกว่า "เล็บ" ใน 1 หวี มีผลแน่นมากประมาณ 30-40 ผล ผลสุกสีเหลืองทอง เนื้อในสีเหลืองกลิ่นหอมแรง รสหวาน หอม เนื้อนุ่ม กินสุกเป็นผลไม้ แปรรูปเป็นกล้วยตาก และกล้วยฉาบอบใบเตย
12. กล้วยเทพรส หรือเรียกกันว่า กล้วยสิ้นปลี หรือกล้วยปลีหาย เพราะเวลาตกเครือปลีจะหดหายไป กล้วยเทพรสในหนึ่งเครือมี 5-7 หวี แต่ละหวีมีราว 11 ผล ลักษณะผลมีขนาดใหญ่ มีสันเหลี่ยมตามเปลือกผลชัดเจน ปลายผลทู่ก้านผลยาว ผลดิบสีเขียวหม่น เมื่อแก่จัดมีสีเขียวอมเทาผลสุกเปลือกสีเหลืองส้ม เนื้อในสีครีม นำไปฉาบ เชื่อม ต้ม หรือเผากิน เนื้อจะเหนียวและหวาน
13. กล้วยน้ำไท เป็นกล้วยที่ครั้งหนึ่งเคยใช้ในการเช่นสรางเทพยดาฟ้าดินไหว้ครูร่วมกับขนม ต้มแดง ขนมต้มขาว หัวหมู ส้มสูกลูกไม้อื่น ๆ แต่ความที่เป็นกล้วยหายาก ในปัจจุบันจึงใช้กล้วยน้ำว้าแทน กล้วยน้ำไทยผลสั้นกว่ากล้วยหอม ผลสุกผิวสีเหลืองอร่าม เนื้อกล้วยเหนียวคล้ายกล้วยน้ำว้า รสหาวเข้มคล้ายกล้วยหอม บางท้องถิ่นเรียกว่า กล้วยหอมน้อย

คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ: 
กล้วย มีคุณค่าอาหารสูง ให้พลังงาน 100 แคลอรีต่อ 100 กรัม กล้วยสุกย่อยง่าย ให้คาร์โบไฮเดรต และวิตามินเอสูง มีการวิจัยพบว่า กล้วยน้ำว้ามีโปรตรีนใกล้เคียงกับนมแม่มาก กล้วยสุกจึงเป็นอาหารเสริมที่ดีที่สุดสำหรับทารก (ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป) ส่วนคนสูงอายุเชื่อว่ากินกล้วยน้ำว้าแช่น้ำผึ้งทุกวันจะช่วยให้สุขภาพแข็ง แรง และเป็นยาอายุวัฒนะ ทั้งกล้วยดิบและกล้วยสุกนำมาใช้แก้อาการผิดปกติของทางเดินอาหาร กล้วยหักมุกหรือกล้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น