|
วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556
เงาะ (Rambutan)
ทุเรียน (Duriane)
ทุเรียน
(Duriane)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์:
Durio ziberhinus Merr.
ทุเรียน เป็นไม้ผลในวงศ์ฝ้าย (Malvaceae) ในสกุลทุเรียน (Durio) (ถึงแม้ว่านักอนุกรมวิธานบางคนจัดให้อยู่ในวงศ์ทุเรียน (Durionaceae) ก็ตาม) เป็นผลไม้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้ ผลทุเรียนมีขนาดใหญ่และมีหนามแข็งปกคลุมทั่วเปลือก อาจมีขนาดยาวถึง 30 ซม. และอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวถึง 15 ซม. โดยทั่วไปมีน้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม ผลมีรูปรีถึงกลม เปลือกมีสีเขียวถึงน้ำตาล เนื้อในมีสีเหลืองซีดถึงแดง แตกต่างกันไปตามสปีชีส์
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะตัว ซึ่งเป็นส่วนผสมของสารระเหยที่ประกอบไปด้วย เอสเทอร์ คีโตน และสารประกอบกำมะถัน บางคนบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นหอม ในขณะที่บางคนบอกว่ามีกลิ่นเหม็นรุนแรงจนถึงขั้นสะอิดสะเอียน ทำให้มีการห้ามนำทุเรียนเข้ามาในโรงแรมและการขนส่งสาธารณะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง ทั้งยังอุดมไปด้วยกำมะถันและไขมัน จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
ทุเรียนเป็นพืชพื้นเมืองของบรูไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกมาประมาณ 600 ปีมาแล้ว ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ ได้พรรณนาถึงทุเรียนว่า "เนื้อในมันเหมือนคัสตาร์ดอย่างมาก รสชาติคล้ายอัลมอนด์"
เนื้อในของทุเรียนกินได้หลากหลายไม่ว่าจะห่าม หรือสุกงอม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการนำทุเรียนมาทำอาหารได้หลายอย่าง ทั้งเป็นอาหารคาวและอาหารหวาน แม้แต่เมล็ดก็ยังรับประทานได้เมื่อทำให้สุก
ทุเรียนมีมากกว่า 30 ชนิด มีอย่างน้อย 9 ชนิดที่รับประทานได้ แต่มีเพียง Durio zibethinus เพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก จนมีตลาดเป็นสากล ในขณะทุเรียนชนิดที่เหลือมีขายแค่ในท้องถิ่นเท่านั้น ทุเรียนมีสายพันธุ์ประมาณ 100 สายพันธุ์ให้ผู้บริโภคเลือกรับประทาน นอกจากนี้ยังมีราคาสูงอีกด้วย ส่วนในประเทศไทยพบทุเรียนอยู่ 5 ชนิด
พันธุ์ ทุเรียนในประเทศไทย
พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทยสามารถจำแนกออกได้เป็น 6 กลุ่ม ตามลักษณะรูปร่างใบ ปลายใบ ฐานใบ ทรงผล และรูปร่างของหนาม คือ
1. กลุ่มกบ จำแนกพันธุ์ได้ 46 พันธุ์ เช่น กบตาดำ กบทองคำ กบวัดเพลง กบก้านยาว
2. กลุ่มลวง จำแนกพันธุ์ได้ 12 พันธุ์ เช่น ลวงทอง ชะนี สายหยุด ชะนีก้านยาว
3. กลุ่มก้านยาว จำแนกพันธุ์ได้ 8 พันธุ์ เช่น ก้านยาว ก้านยาววัดสัก ก้านยาวพวง
4. กลุ่มกำปั่น จำแนกพันธุ์ได้ 13 พันธุ์ เช่น กำปั่นเหลือง กำปั่นแดง ปิ่นทอง หมอนทอง
5. กลุ่มทองย้อย จำแนกพันธุ์ได้ 14 พันธุ์ เช่น ทองย้อยเดิม ทองย้อยฉัตร ทองใหม่
6. กลุ่มเบ็ดเตล็ด เป็นทุเรียนที่จำแนกลักษณะพันธุ์ได้ไม่แน่ชัด มีอยู่ถึง 81 พันธุ์
พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากมี 4 พันธุ์ คือ หมอนทอง (D159), ชะนี (D123), ก้านยาว (D158), และ กระดุม ซึ่งมีลักษณะดังนี้
• พันธุ์กระดุม ผลจะมีขนาดค่อนข้างเล็ก น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ผลมีลักษณะค่อนข้างกลมด้านหัวและด้านท้ายผลค่อนข้างป้าน ก้นผลบุ๋มเล็กน้อย หนามเล็กสั้นและถี่ ขั้วค่อนข้างเล็กและสั้น ลักษณะของพูเต็มสมบูรณ์ ร่องพูค่อนข้างลึก เนื้อละเอียดอ่อนนุ่มสีเหลืองอ่อน เนื้อค่อนข้างบาง รสชาติหวานไม่ค่อยมัน เละง่ายเมื่อสุกจัด เมล็ดมีขนาดใหญ่
• พันธุ์ชะนี (D123) ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่ น้ำหนักประมาณ 2.5-3 กิโลกรัม ผลมีรูปทรงหวด กล่าวคือ กลางผลป่อง หัวเรียว ก้นตัด ร่องพูค่อนข้างลึกเห็นได้ชัด ขั้วผลใหญ่และสั้น เนื้อละเอียด สีเหลืองจัดเกือบเป็นสีจำปา ปริมาณมาก รสชาติหวานมัน เมล็ดค่อนข้างเล็กและมีจำนวนเมล็ดน้อย
• พันธุ์หมอนทอง (D159) ผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักประมาณ 3-4 กิโลกรัม ทรงผลค่อนข้างยาวมีบ่าผล ปลายผลแหลม พูมักไม่ค่อยเต็มทุกพู หนามแหลมสูง ฐานหนามเป็นเหลี่ยม ระหว่างหนามใหญ่จะมีหนามเล็กวางแซมอยู่ทั่วไป ซึ่งเรียกหนามชนิดนี้ว่า เขี้ยวงู ก้านผลใหญ่แข็งแรง ช่วงกลางก้านผลจนถึงปากปลิงจะอ้วนใหญ่เป็นทรงกระบอก เนื้อหนาสีเหลืองอ่อนละเอียด เนื้อค่อนข้างแห้งไม่แฉะติดมือ รสชาติหวานมัน เมล็ดน้อยและลีบเป็นส่วนใหญ่
• พันธุ์ก้านยาว (D158) ผลมีขนาดปานกลาง น้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม ทรงผลกลมเห็นพูไม่ชัดเจน พูเต็มทุกพู หนามเล็กถี่สั้นสม่ำเสมอทั้งผล ก้านผลใหญ่และยาวกว่าพันธุ์อื่นๆ เนื้อละเอียดสีเหลืองหนาปานกลาง รสชาติหวานมัน เมล็ดมากค่อนข้างใหญ่
ทุเรียนเป็นไม้ผลยืนต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง สูง 25-50 เมตรขึ้นกับชนิด แตกกิ่งเป็นมุมแหลม ปลายกิ่งตั้งกระจายกิ่งกลางลำต้นขึ้นไป เปลือกชั้นนอกของลำต้นสีเทาแก่ ผิวขรุขระหลุดลอกออกเป็นสะเก็ด ไม่มียาง ใบเป็นใบเดี่ยว เกิดกระจายทั่วกิ่ง เกิดเป็นคู่อยู่ตรงกันข้ามระนาบเดียวกัน ก้านใบกลมยาว 2–4 ซม. แผ่นใบรูปไข่แกมขอบขนานปลายใบใบเรียวแหลม ยาว 10-18 ซม. ผิวใบเรียบลื่น มีไขนวล ใบด้านบนมีสีเขียว ท้องใบมีสีน้ำตาลเส้นใบด้านล่างนูนเด่น ขอบใบเรียบ ดอกเป็นดอกช่อ มี 3-30 ช่อบนกิ่งเดียวกัน เกิดตามลำต้น และกิ่งก้านยาว 1–2 ซม. ลักษณะดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยงและมีกลีบดอก 5 กลี (บางครั้งอาจมี 4 หรือ 6 กลีบ) มีสีขาวหอม ลักษณะดอกคล้ายระฆัง มีช่วงเวลาออกดอก 1-2 ครั้งต่อปี ช่วงเวลาออกดอกขึ้นกับชนิด สายพันธุ์ และสถานที่ปลูกเลี้ยง โดยทั่วไปทุเรียนจะให้ผลเมื่อมีอายุ 4-5 ปี โดยจะออกตามกิ่งและสุกหลังจากผสมเกสรไปแล้ว 3 เดือน ผลเป็นผลสดชนิดผลเดี่ยว อาจยาวมากกว่า 30 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางอาจยาวกว่า 15 ซม. มีน้ำหนัก 1-3 กก เป็นรูปรีถึงกลม เปลือกทุเรียนมีหนามแหลมเมื่อแก่ผลมีสีเขียว เมื่อสุกมีสีน้ำตาลอ่อน แตกตามแต่ละส่วนของผลเรียกเป็นพู เนื้อในมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อนถึงแดง ขึ้นกับชนิด เนื้อในจะนิ่ม กึ่งอ่อนกึ่งแข็ง มีรสหวาน เมล็ดมีเยื่อหุ้ม กลมรี เปลือกหุ้มสีน้ำตาลผิวเรียบ เนื้อในเมล็ดสีขาว รสชาติฝาด
คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง วิตามินซี โพแทสเซียม และกรดอะมิโนซีโรโทเนอร์จิก ทริปโตเฟน และยังเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน อย่างดีทุเรียนถือเป็นแหล่งไขมันสดที่ดีในอาหารไม่ผ่านความร้อนหลาย ๆ ชนิด นอกจากนี้ทุเรียนยังมีค่าดัชนีน้ำตาลที่สูงหรือเป็นอาหารที่มีไขมัน มาก จึงมีการแนะนำให้บริโภคทุเรียนแต่น้อย และทุเรียนยังอุดมไปด้วยกำมะถันและไขมัน ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเพราะหากกินเข้าไป นอกจากจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว ยังทำให้ร้อนในและรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวอีกด้วย
ในประเทศมาเลเซียสิ่งที่สกัดจากใบและรากใช้เป็นยาลดไข้ได้ น้ำจากใบใช้วางบนศีรษะของคนป่วยเป็นไข้เพื่อลดไข้รายละเอียดที่สมบูรณ์ที่สุดทางการแพทย์ที่ใช้ทุเรียนในการรักษาไข้อยู่ใน ตำรับยาของประเทศมาเลเซีย รวบรวมโดยเบอร์คิลล์ (Burkill) และแฮนนิฟฟ์ (Haniff) ในปี พ.ศ. 2473 โดยสอนให้ผู้อ่านต้มรากของชบาฮาวาย (Hibiscus rosa-sinensis) กับรากของทุเรียนชนิด Durio zibethinus ลำไย เงาะขนสั้น (Nephelium mutabile) และขนุน และดื่มน้ำที่สกัดออกมาหรือใช้พอกในตำราสมุนไพรไทยได้กล่าวไว้ว่า
ส่วนต่าง ๆ ของทุเรียนสามารถนำมาใช้เป็นยาได้ โดยใบมีรสขม เย็นเฝื่อน มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้ดีซ่าน ขับพยาธิ และทำให้หนองแห้ง เนื้อทุเรียนมีรสหวาน ร้อน มีสรรพคุณให้ความร้อน แก้โรคผิวหนัง ทำให้ฝีแห้ง และขับพยาธิ เปลือกทุเรียนมีรสฝาดเฝื่อนใช้สมานแผล แก้น้ำเหลืองเสีย พุพอง แก้ฝี ตาน ซาง คุมธาตุ แก้คางทูม และไล่ยุงและแมลง ส่วนรากมีรสฝาดขมใช้แก้ไข้และแก้ท้องร่วง
ในช่วงปี พ.ศ. 2463 มีบริษัทในนครนิวยอร์กได้ทำผลิตภัณฑ์จากผลทุเรียนเรียกว่า "Dur-India (เดอร์ อินเดีย)" เป็นอาหารเสริม ขายอยู่ที่ราคา US$9 ต่อหนึ่งโหล แต่ละขวดบรรจุ 63 เม็ด แต่ละเม็ดประกอบไปด้วยทุเรียน พืชสกุลกระเทียมบางชนิด จากอินเดียและวิตามินอี บริษัทได้โฆษณาอาหารเสริมนี้ว่ามันเปี่ยมไปด้วย"พลังงานที่เป็นประโยชน์ต่อ สุขภาพเข้มข้นในรูปแบบอาหารมากกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในโลกที่สามารถจะมีได้"
วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556
ทับทิม (Pomegranate)
ทับทิม (Pomegranate) |
![]() | |
|
แก้วมังกร (Dragon Fruit, Pitaya)
แก้วมังกร
(Dragon
Fruit, Pitaya)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Hylocereus
undatus
แก้วมังกร เป็นผลไม้ที่นำพันธุ์มาจากประเทศเวียดนาม
คนเวียดนามเรียกว่า ธานห์ลอง กัมพูชาเรียกว่า สกราเนียะ มีชื่อสามัญว่า Dragon
fruit ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocereus undatus (Haw) Britt.
& Rose. ถิ่นกำเนินของแก้วมังกรอยู่ในทวีปอเมิรกากลาง
แถบหมู่เกาะเวสต์อินดีส โคลอมเบีย กัวเตมาลา และเวเนซูเอล่า
สันนิษฐานว่าแก้วมังกรเข้ามาในเอเชียโดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่นำพืชพันธุ์
นี้มาจากอเมริการกลางมาปลูกในเวียดนามเป็นระยะเวาลาไม่น้อยกว่าหนึ่งศตวรรษ
ที่เวียดนามปลูกันมากจนชาวเวียดนามถือว่าเป็นผลไม้ท้องถิ่น
มีการปลูกเป็นไม้ผลหลังบ้านและปลูกเป็นสวนขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ตามสภาพดินที่มีอยู
บริเวณที่ปลูกกันมากคือ
แถบชายฝั่งทะเลตะวันออกจากเมืองนาตรังทางเหนือลงไปทางใต้ถึงนครโฮจิมินห์
ส่วนในเมืองไทยนั้น
มีผู้นำแก้วมังกรเข้ามาปลูกเป็นเวลานานมากกว่ากึ่งศตวรราแล้ว แต่ไม่เป็นที่รู้จักเมื่อราว
พ.ศ. 2534 เพิ่งมีการนำต้นพันธุ์ดีจากประเทศเวียดนามเข้ามาปลูกเพื่อเป็นผลไม้เศรษฐกิจ
แก้วมังกรเป็นไม้ในตระกูลกระบองเพชร ลำต้นเป็นแฉก 3 แฉก
คล้ายครับมังกร มีหนามเป็นกระจุกอยู่ที่ตา 4-5 หนาม
ลำต้นเดียว แผ่ก้านออกไปรอบ ๆ ต้องมีค้างคอยพยุง ดอกสีขาว เป็นรูปทรงกรวยขนาดใหญ่
มีกลีบยาวเรียวทับซ้อนกัน บานในเวลากลางคือ จึงมีชื่อเรียกว่า moonflower หรือ
lady ot the night หรือ queen of the night ผลแก้วมังกรเมื่อดิบผิวเปลือกเป็นสีเขยว
รูปทรงกลมรี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 6-10 ซม. มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ตามเปลือกผล
เมื่อสุกผิวเปลือกเปลี่ยนเปนสีแดงอมชมพู เนื้อในมีทั้งสีแดงและสีขาวขุ่น
มีเมล็ดเล็ก ๆ สีดำคล้ายเมล็ดแมงลักกระจายทั่วทั้งผล ปลูกได้ทุกภาคทั่วประเทศ
แต่แหล่งที่มีการปลูกมากอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี กาญจนบุรี
สระบุรีและสมุทรสงคราม แก้วมังกรมีหลายพันธุ์ด้วยกัน ดังนี้
- แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง ผลทรงกลมรีผิวเปลือกสีชมพูสด
มีกลีบสีเขียวตามผิวเปลือก เนื้อสีขาวมีเมล็ดสีดำแทรกอยู่ในเนื้อ รสชาติหวานนิด ๆ
อมเปรี้ยวหน่อย ๆ บางผลก็หวานจัด แล้วแต่ลูก
- แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง ผลเป็นรูปไข่
ขนาดเล็กกว่าทุกพันธุ์ เปลือกหนาสีเหลือง เนื้อสีขาว
เมล็ดสีดำมีขนาดใหญ่และปริมาณน้อยกว่าพันธุ์อื่น ๆ รสชาติหวาน
- แก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง
เป็นพันธุ์ที่ผสมขึ้นมาใหม่จากไต้หวัน ผลเป็นทรงกลม เปลือกสีแดงจัด
ผลขนาดเล็กกว่าพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง เนื้อสีแดงจัด
มีเมล็ดสีดำขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่ว รสชาติหวานกว่าพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง
แก้วมังกรในประเทศไทยมีผลดกช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษศจิกายน
แต่ก็มีผลประปรายตลอดทั้งปี มักกินเป็นผลไม้สด
หรือกินรวมกับผลไม้อื่นเป็นฟรุตสลัด หรือนำไปปั่นเป็นน้ำแก้วมังกร เพราะเนื้อเยอะฉ่ำน้ำ
รสหวานอ่อนๆ อมเปรี้ยวนิดๆ ส่วนแก้วมังกรแดงรสจะหวานจัดกว่าเล็กน้อย
คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
แก้วมังกร มีสารอาหารหลายชนิด
เช่น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม วิตามินซี และมีเส้นใย
มีสรรพคุณช่วยลดโคเลสเตอรอล ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ ลดความดันโลหิต
ควบคุมน้ำหนัก แก้ท้องผูก ป้องกันมะเร็งสำไส้ใหญ่และช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้น
กีวี (Kiwi fruit /Chinese gooseberry)
กีวี (Kiwi fruit /Chinese gooseberry)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Actinidia
chinensis
กีวี เป็นผลไม้เมืองหนาว มีชื่อสามัญว่า Kiwi fruit และ Chinese gooseberry ภาษาจีนเรียกกีวีว่า หมีโหวเถา (mi houtao) ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinidia chinensis L.
กีวีมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศจีน พบมากแถบลุ่มแม่น้ำฉางเจียง แยงซีเกียง) ในสมัยก่อนกีวีได้รับการยกย่องจากพระมหาจักรพรรดิ ว่าเป็นผลไม้ที่มีรสชาติเป็นเลิศ กีวีเริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายนอกประเทศจีนในช่วงปี ค.ศ. 1800-1900 จากนั้นมีคนนำไปปลูกในประเทศนิวซีแลลนด์ ช่วงปี ค.ศ. 1906 และมีการปรับปรุงพันธุ์จนได้ผลกีวีที่มีรสชาติยิ่งขึ้นเมื่อแรกนำผลไม้ชนิด นี้เข้าปลูกในประเทศนิวซีแลนด์ใช้ชื่อเดิมว่า Chinese gooseberry ต่อมานิวซีแลนด์ได้กลายเป็นประเทศผู้ปลูกและส่งออกกีวีรายใหญ่ที่สุดของโลก จึงได้เปลี่ยนชื่อเรียกผลไม้ชนิดนี้เป็น kiwi fruit ตามสัญลักษณ์ของประเทศ ซึ่งก็คือนกกีวีนั่นเอง ในเมืองไทยได้มีการทดลองนำกีวีเข้ามาปลูกในพื้นที่บนดอยอ่างขาง และดอยขุนวาง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา
กีวีเป็นไม้ผลัดใบ ประเภทไม้เลื้อย กิ่งและใบมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบสลับก้านใบยาว ดอกเป็นแบบไม่สมบูรณ์เพค ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่ต่างต้นกัน มีทั้งดอกเดี่ยวและเป็นช่อ กลีบดอกตัวเมียจะอยู่ต่างต้นกัน มีทั้งดอกเดี่ยวและเป็นช่อ กลีบดอกสีขาว ผลกีวีมีรูปทรงไข่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 5 ซม. สีน้ำตาล มีขนเส้นเล็ก ๆ ปกคลุมทั่วผล เนื้อในสีเขียวใส เนื้อหนา ชุ่มน้ำ รสอมเปรี้ยวอมหวาน พันธุ์กีวีที่ได้รับความนิยมมีดังนี้
- พันธุ์ Abbott มีรูปร่างกลมรี ขนยาวปกคลุมทั่วผล
- พันธุ์ Allison รูปร่างกลมรี คล้ายกับพันธุ์ Abbott แต่มีขนาดใหญ่กว่า
- พันธุ์ Bruno ผลใหญ่ ยาวรีกว่าพันธุ์อื่น ๆ ผิวเปลือกสีน้ำตาลเข้ม ขนอ่อนสั้นและเปราะ
- พันธุ์ Hayward ผลเป็นรูปไข่ ผิวเปลือกสีน้ำตาลอมเขียวมีขนอ่อนปกคลุมทั่วเปลือก
- พันธุ์ Monty เป็นพันธุ์ที่ตรงขั้วผลสอบ ส่วนท้ายผลโค้งมีขนอ่อนปกคลุม ขนาดผลใกล้เคียงกับพันธุ์ Abbott และ Allison
กีวีที่ปลูกบนดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ มี 5 สายพันธุ์ พันธุ์ที่ปลูกเพื่อการค้า ได้แก่ พันธุ์ Bruno และ Hayward ปลูกเพื่อการศึกษา ได้แก่ พันธุ์ Abbott, Monty และ Dexter ให้ผลเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน กีวีเป็นผลไม้ที่สามารถเก็บไว้ได้นานถึงครึ้งปีหรือหนึ่งปี เนื่องจากเปลือกของกีวีมีคุณสมบัติห่อหุ้มเนื้อได้ดี เนื้อกีวีรสหวานอมเปรี้ยว ชุ่มคอ กินเป็นผลไม้สด และนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น กีวีแช่แข็ง กีวีกวน กีวีตากแห้ง กีวีกระป๋องใช้ทำน้ำผลไม้ และไวน์ขาว ผลกีวีสดนิยมนำมาใช้แต่งหน้าเค้กและสลัดให้มีสีสันสวยงาม
นอกจากนี้กีวียังใช้ปรุงอาหารจานเนื้อและเป็นส่วนผสมในการหมักเนื้อได้ ด้วย เพราะกีวีมีเอนไซม์ช่วยการย่อยโปรตีน
กีวี เป็นผลไม้เมืองหนาว มีชื่อสามัญว่า Kiwi fruit และ Chinese gooseberry ภาษาจีนเรียกกีวีว่า หมีโหวเถา (mi houtao) ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinidia chinensis L.
กีวีมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศจีน พบมากแถบลุ่มแม่น้ำฉางเจียง แยงซีเกียง) ในสมัยก่อนกีวีได้รับการยกย่องจากพระมหาจักรพรรดิ ว่าเป็นผลไม้ที่มีรสชาติเป็นเลิศ กีวีเริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายนอกประเทศจีนในช่วงปี ค.ศ. 1800-1900 จากนั้นมีคนนำไปปลูกในประเทศนิวซีแลลนด์ ช่วงปี ค.ศ. 1906 และมีการปรับปรุงพันธุ์จนได้ผลกีวีที่มีรสชาติยิ่งขึ้นเมื่อแรกนำผลไม้ชนิด นี้เข้าปลูกในประเทศนิวซีแลนด์ใช้ชื่อเดิมว่า Chinese gooseberry ต่อมานิวซีแลนด์ได้กลายเป็นประเทศผู้ปลูกและส่งออกกีวีรายใหญ่ที่สุดของโลก จึงได้เปลี่ยนชื่อเรียกผลไม้ชนิดนี้เป็น kiwi fruit ตามสัญลักษณ์ของประเทศ ซึ่งก็คือนกกีวีนั่นเอง ในเมืองไทยได้มีการทดลองนำกีวีเข้ามาปลูกในพื้นที่บนดอยอ่างขาง และดอยขุนวาง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา
กีวีเป็นไม้ผลัดใบ ประเภทไม้เลื้อย กิ่งและใบมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบสลับก้านใบยาว ดอกเป็นแบบไม่สมบูรณ์เพค ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่ต่างต้นกัน มีทั้งดอกเดี่ยวและเป็นช่อ กลีบดอกตัวเมียจะอยู่ต่างต้นกัน มีทั้งดอกเดี่ยวและเป็นช่อ กลีบดอกสีขาว ผลกีวีมีรูปทรงไข่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 5 ซม. สีน้ำตาล มีขนเส้นเล็ก ๆ ปกคลุมทั่วผล เนื้อในสีเขียวใส เนื้อหนา ชุ่มน้ำ รสอมเปรี้ยวอมหวาน พันธุ์กีวีที่ได้รับความนิยมมีดังนี้
- พันธุ์ Abbott มีรูปร่างกลมรี ขนยาวปกคลุมทั่วผล
- พันธุ์ Allison รูปร่างกลมรี คล้ายกับพันธุ์ Abbott แต่มีขนาดใหญ่กว่า
- พันธุ์ Bruno ผลใหญ่ ยาวรีกว่าพันธุ์อื่น ๆ ผิวเปลือกสีน้ำตาลเข้ม ขนอ่อนสั้นและเปราะ
- พันธุ์ Hayward ผลเป็นรูปไข่ ผิวเปลือกสีน้ำตาลอมเขียวมีขนอ่อนปกคลุมทั่วเปลือก
- พันธุ์ Monty เป็นพันธุ์ที่ตรงขั้วผลสอบ ส่วนท้ายผลโค้งมีขนอ่อนปกคลุม ขนาดผลใกล้เคียงกับพันธุ์ Abbott และ Allison
กีวีที่ปลูกบนดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ มี 5 สายพันธุ์ พันธุ์ที่ปลูกเพื่อการค้า ได้แก่ พันธุ์ Bruno และ Hayward ปลูกเพื่อการศึกษา ได้แก่ พันธุ์ Abbott, Monty และ Dexter ให้ผลเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน กีวีเป็นผลไม้ที่สามารถเก็บไว้ได้นานถึงครึ้งปีหรือหนึ่งปี เนื่องจากเปลือกของกีวีมีคุณสมบัติห่อหุ้มเนื้อได้ดี เนื้อกีวีรสหวานอมเปรี้ยว ชุ่มคอ กินเป็นผลไม้สด และนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น กีวีแช่แข็ง กีวีกวน กีวีตากแห้ง กีวีกระป๋องใช้ทำน้ำผลไม้ และไวน์ขาว ผลกีวีสดนิยมนำมาใช้แต่งหน้าเค้กและสลัดให้มีสีสันสวยงาม
นอกจากนี้กีวียังใช้ปรุงอาหารจานเนื้อและเป็นส่วนผสมในการหมักเนื้อได้ ด้วย เพราะกีวีมีเอนไซม์ช่วยการย่อยโปรตีน
คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
กีวี มีสารอาหารหลายชนิด เช่น เหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม วิตามินซี วิตามินอี และมีเส้นใยมาก ให้แคลอรี่ต่ำและไม่มีโคเลสเตอรอล
กีวี มีสารอาหารหลายชนิด เช่น เหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม วิตามินซี วิตามินอี และมีเส้นใยมาก ให้แคลอรี่ต่ำและไม่มีโคเลสเตอรอล
Fruit In Thailand : กล้วย
กล้วย(Banana)
![]() |
กล้วย ในภาคอีสานและภาคเหนือเรียกเหมือนกัน คือ ก้วย ส่วนภาคใต้เรียกว่า กลวย มีชื่อสามัญว่า Banana ซื่อวิทยาศาสตร์ว่า Musa spp. คำว่า Musa มาจากคำอาหรับ Muz หมายถึงกล้วย ซึ่งคำว่า Muz มีรากศัพท์มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า Muz มีรากศัพท์มาจากคำภาษาสันสฤตว่า Mocha ซึ่งหมายถึงกล้วยเช่นกัน ส่วนคำว่า Banana นั้นเรียกชื่อตามภาษาแอฟริกาตะวันตกที่ชาวพื้นเมืองใช้เรียกกล้วย เมื่อโปรตุเกสและสเปนเข้าครอบครองหมู่เกาะกินีและคานารีก็เรียกตามกัน และเมื่อมีการนำกล้วยไปปลูกกันเป็นล่ำเป็นสันที่อเมริกากลางและอเมริกาใต้ โดยใช้แรงงานทาสแอฟริกาตะวันตก คำว่า Banana จึงแพร่หลายกว้างขวาง จนกลายเป็นคำสามัญที่ใช้เรียกกล้วยในปัจจุบัน
กล้วยเป็นพันธุ์ไม้ท้องถิ่นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นพืชพื้นถิ่นที่มีอยู่ในประเทศไทยมานานแล้วกล้วยเป็นผลไม้เก่าแก่พอ ๆ กับข้าวที่มีในท้องถิ่นภูมิภาคนี้ เช่นกัน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่า มีการเดินเรือค้าขายระหว่างเกาะชวากับแอฟริกาตะวันออก โดยเฉพาะเกาะมาดากัสการ์ ตั้งแต่หลายร้อยปีก่อนคริสตกาล สินค้าสำคัญจากชวาก็คือ ข้าวและกล้วย แม้แต่อินเดียซึ่งเป็นแหล่งผลิตกล้วยสำคัญทั้งในอดีตและปัจจุบัน ก็ได้รับกล้วยป่าจากการเดินเรือค้าขายระหว่างอินเดียตอนใต้กับอุษาคเนย์ ตั้งแต่หลายพันปีก่อน กล้วยเจริญงอกงามดีในบริเวณอากาศอบอุ่นชุ่มชื้น ภายหลังจึงแพร่พันธุ์ไปทั่วเอเชียและส่วนอื่น ไ ของโลกที่เขตอบอุ่นชุ่มชื้นเช่นกัน
กล้วยเป็นไม้ล้มลุกขนาดใหญ่ มีลำต้นอยู่ใต้ดินที่เรียกว่า "เหง้า" ลำต้นเทียมที่อยู่บนดินเกิดจากการหุ้มช้อนกันของกาบใบ ใบกล้วยเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ยาว ผิวหน้าใบสีเขียวเป็นมัน มีเส้นนูนตั้งฉากกับก้านใบ ท้องใบมีนวลเคลือบ กล้วยออกดอกเป็นปลี กาบปลีมีแดงอมม่วงใต้กาบประกอบไปด้วยผลกล้วยที่อยู่ติดกันเป็นหวี ผลกล้วยมีลักษณะยาวรี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 2-4 ซม. ยาว 8-15 ซม. ผลกล้วยดิบเปลือกแข็งสีเขียว กล้วยสุกเปลือกสีเหลืองหรือเขียวแล้วแต่พันธุ์ เนื้อสีเหลือง รสหวาน มีเมล็ดสีดำเล้ก ๆ แทรกอยู่บริเวณกลางผล
กล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่าย ขึ้นได้ทั่วไป ต้นหนึ่งตกเครือเพียงครั้งเดียว ต้นก็จะตายไป กล้วยเป็นพืชกอ มีการแยกหน่อทดแทนต้นที่ตายไป ดังนั้นกล้วยจึงตกเครือได้ตลอดปีแต่ก็ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของกล้วยนั้น ๆ เช่น กล้วยไขจะให้ผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมเท่านั้น
ปัจจุบันมีการเพาะปลูกกล้วยอยู่ทั่วไปในแถบเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปทาง เหนือและลงมาทางใต้ ประเทศที่มีดินฟ้าอากาศเหมาะสมจะมีการปลูกกล้วยเพื่อบริโภคในท้องถิ่น เช่น ประเทศในทวีปแอฟริกา เอเชีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก สำหรับเมืองไทย กล้วยเป็นพืชที่ขึ้นได้ทุกภาค แหล่งที่ปลูกกล้วยมากที่สุดได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร กาญจนบุรี เพชรบุรี ตาก ชุมพร และ ระนอง นครราชสีมา และหนองคาย
ประเทศไทยมีกล้วยกินได้มากมายกว่า 60-70 พันธุ์ พันธุ์ที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ได้แก่
![]() |
กล้วยน้ำหว้า |
1. กล้วยน้ำว้า กล้วยพื้นบ้านของไทย มีหลายสายพันธุ์ เช่นกล้วยน้ำว้ากาบขาว กล้วยน้ำว้าค่อม กล้วยน้ำว้าแดง กล้วยน้ำว้าเขีย และกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง กล้วยน้ำว้าเมื่อดิบเปลือกสีเขียว (นอกจากเป็นกล้วยน้ำว้าเปลือกดำที่พบที่วันสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี) เนื้อแน่น มีรสฝาด เมื่อสุกเปลือกเหลืองบาง เนื้นแน่นนิ่ม กลินหอมและรสหวานจัดยิ่งขึ้น กินทั้งแบบดิบ ด้วยการนำไปปรุงสุกเป็นแกงกล้วยทำตำกล้วย ผัดผลกลับ กล้วยปิ้ง กล้วยบวชชี กล้วยเชื่อม กล้วยฉาบ กล้วยตาก กล้วยกวน และกินสุกเป็นผลไม้
2. กล้วยหอม เป็นกล้วยที่เราพบเห็นทั่วไป กล้วยหอมพันธุ์มีหลายพันธุ์ เช่น กล้วยหอมทอง กล้วยหอมทองค่อม หล้วยหอมเขียว เปลือกเป็นสีเขีย รสหวานจัด มีกลิ่นหอม กล้วยหอมเขียวค่อม กล้วยหอมวิลเลียม กล้วยหอมพจมาน กล้วยหอมกระเหรี่ยง กล้วยหอมแกรนด์เนน และกล้วยหอมจันทน์ เป็นต้น เฉพาะกล้วยหอมทอง เป็นกล้วยพาณิชย์ที่มีขายทั่วไป อิวเปลือกสีเหลือง รสหวานจัด เนื้อเนียนละเอียด กินสุกเป็นผลไม้ ผสมในน้ำมัน และทำเป็นไส้กล้วยในโรตีและมะตะบะ
3. กล้วยหอมทอง เป็นกล้วยหอมพันธุ์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งลำต้นขนาดใหญ่ แข็งแรง ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้างและมีปีก ก้านช่อดอกมีขน ผลยาวรี ปลายคอด มีจุก เปลือกบางเมื่อดิบเปลือกสีเขียว เมื่อสุกเปลือกกลายเป็นสีเหลืองทอง เนี้นสีส้มอ่อน กลิ่นหอม รสหวาน เนื้นนุ่มเนียน
4. กล้วยหอมที่ค้าขายกันในโลกส่วนใหญ่เป็นกล้วยหอมคาเวนดิน (Cavendish) และกรอสไมเคิล (Gros Michael) ซึ่งมีรสหวาน เปลือกสีเหลืองหนา ขั้วเหนียว อันเป็นคุณสมบัติที่เหมาะกับการขนส่งทางไกล
5. กล้วยหอมเขียว กาบใบมีจุดกระมากกว่ากาบกล้วยหอมทอง หวีหนึ่ง ๆ มีผลแน่นเป็นพิเศษกว่ากล้วยหอมใด ๆ มีถึง 32 ผล ผลสุกสีเขียวอมเหลือง ปลายผลทู่ เนื้อสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมรสหวาน จังหวัดแพร่เรียกว่า กล้วยคร้าว นครศรีธรรรมชารเรียกว่า กล้วยเขียว พะเยาเรียกกว่า กล้วยหอมคร้าว
![]() |
กล้วยไข่ |
6. กล้วยไข่ เป็นกล้วยที่ปลูกมากที่จังหวัดกำแพงเพชร เพชรบรี ตาก
และสุรินทร์ เครือกล้วยไข่มีขนาดเล็ก แต่ละหวีมีผลดก ขนาดผลเล็ก ผิดสีเหลืองไข่
ผิวเปลือกบาง เนื้อสีเหลืองสวย รสหวานหอม
กล้วยไข่ตกเครือในผลสุกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม
ซึ่งตรงกับช่วงเข้าพรรษาที่มีการทำข้าวกระยาสารทถวายพระ
กล้วยไข่เป็นผลไม้ที่นิยมกันคู่กับกระยาสารท จะได้รสชาติที่อร่อยลงตัวพอดี
กล้วยไข่ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือ กล้วยไข่กำแพงเพชร ยังมีกล้วยไขสายพันธุ์อื่น ๆ เช่น
กล้วยไข่พระตะบอง กล้วยไข่โบราณ และกล้วยไข่เล็กยโสธร
ซึ่งมีเปลือกบางสีเหลืองรสหวานอร่อย เนื้อสีเหลืองไข่ เหนียวหวานหอม
กล้วยไข่กินสุกเป็นผลไม้ ทำเป็นขนมหวาน กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี
และแปรรูปเป็นกล้วยตาก
7. กล้วยนาก เปลือกกล้วยสีออกสีนาก คือสีอมแดงค่อนข้างคล้ำ (นากเป็นโลหะผสมระหว่างทองคำ เงินและทองแดง คนโบราณใช้ทำเข็มขัดนาก กำไลนาก) พันธุ์กล้วยนากมีกล้วยนากแดง กล้วยน้ำครั่ง กล้วยครั่ง กล้วยกุ้งแดง ผลดิบผิวเขียวอมแดงหม่น ผลสุกผิวสีนากแดง มีกลิ่นหอม รสหวาน กึ่งกล้วยไข่กึ่งกล้วยหอม เนื้อออกสีเหลืองส้ม ชาวมาญและชาวกระเหรี่ยงน้ำมาบดป้อนลูกเด็กเล็กแดง เป็นกล้วยที่กินกันมากในประเทศพม่า
8. กล้วยหิน เป็นกล้วยคู่แม่น้ำปัตตานี ปลูกตามควน (ตามเนินแนวลาดของภูเขาหรือเนินเขา) แถวบันนังสตาจังหวัดยะลา เป็นกล้วยที่ช่วยเสริมรายได้ใช้ชาวบ้านอย่างมาก เพราะเมื่อนำไปแปรรูปแล้วจะอร่อยมาก กล้วยหินต้มที่สามแยกบ้านเนียง อำเภอบันนังสตา มีชื่อเสียงเลื่องลือว่าอร่อยมาก กล้วยหินฉาบจากตำบนถ้ำทะลุก็ดังไม่แพ้กัน
9. กล้วยหักมุก เป็นกล้วยที่นิยมนำมาปิ้กิน ตามแผงปิ้งกล้วยมักจะมีกล้วยหักมุกปิ้งทั้งเปลือกขายร่วมอยู่ด้วยเสมอ กล้วยหักมุกสุกห่ามเนื้อหยาบ รสหวาน่อนนอมเปรี้ยยวมีกลิ่นหอม เมื่อสุกเนื้อกล้วยจะแน่นขึ้นและมีสีเหลืองอร่ามน่ากิน นอกจากนี้ยังนำมาทำกล้วยหักมุขฉาบ ที่พม่ากินกล้วยหักมุกสุกเป็นผลไม้ กล้วยส้มเป็นกล้วยหักมุกขนิดหนึ่ง ปลูกที่จังหวัดจันทบุรี
10. กล้วยตานี เป็นกล้วยป่าที่มาจากประเทศอินเดีย ปลูกเพื่อน้ำใบมาใช้เป็นใบตอง ผลกล้วยมีเมล็ด นอกจากนี้ผลดิบใช้ปรุงเป็นอาหาร เช่น ส้มตำกล้วยดิบ กินกับแหนมเนือง อาหารเวียดนาม นำไปดองหรือแกง เป็นต้น
7. กล้วยนาก เปลือกกล้วยสีออกสีนาก คือสีอมแดงค่อนข้างคล้ำ (นากเป็นโลหะผสมระหว่างทองคำ เงินและทองแดง คนโบราณใช้ทำเข็มขัดนาก กำไลนาก) พันธุ์กล้วยนากมีกล้วยนากแดง กล้วยน้ำครั่ง กล้วยครั่ง กล้วยกุ้งแดง ผลดิบผิวเขียวอมแดงหม่น ผลสุกผิวสีนากแดง มีกลิ่นหอม รสหวาน กึ่งกล้วยไข่กึ่งกล้วยหอม เนื้อออกสีเหลืองส้ม ชาวมาญและชาวกระเหรี่ยงน้ำมาบดป้อนลูกเด็กเล็กแดง เป็นกล้วยที่กินกันมากในประเทศพม่า
8. กล้วยหิน เป็นกล้วยคู่แม่น้ำปัตตานี ปลูกตามควน (ตามเนินแนวลาดของภูเขาหรือเนินเขา) แถวบันนังสตาจังหวัดยะลา เป็นกล้วยที่ช่วยเสริมรายได้ใช้ชาวบ้านอย่างมาก เพราะเมื่อนำไปแปรรูปแล้วจะอร่อยมาก กล้วยหินต้มที่สามแยกบ้านเนียง อำเภอบันนังสตา มีชื่อเสียงเลื่องลือว่าอร่อยมาก กล้วยหินฉาบจากตำบนถ้ำทะลุก็ดังไม่แพ้กัน
9. กล้วยหักมุก เป็นกล้วยที่นิยมนำมาปิ้กิน ตามแผงปิ้งกล้วยมักจะมีกล้วยหักมุกปิ้งทั้งเปลือกขายร่วมอยู่ด้วยเสมอ กล้วยหักมุกสุกห่ามเนื้อหยาบ รสหวาน่อนนอมเปรี้ยยวมีกลิ่นหอม เมื่อสุกเนื้อกล้วยจะแน่นขึ้นและมีสีเหลืองอร่ามน่ากิน นอกจากนี้ยังนำมาทำกล้วยหักมุขฉาบ ที่พม่ากินกล้วยหักมุกสุกเป็นผลไม้ กล้วยส้มเป็นกล้วยหักมุกขนิดหนึ่ง ปลูกที่จังหวัดจันทบุรี
10. กล้วยตานี เป็นกล้วยป่าที่มาจากประเทศอินเดีย ปลูกเพื่อน้ำใบมาใช้เป็นใบตอง ผลกล้วยมีเมล็ด นอกจากนี้ผลดิบใช้ปรุงเป็นอาหาร เช่น ส้มตำกล้วยดิบ กินกับแหนมเนือง อาหารเวียดนาม นำไปดองหรือแกง เป็นต้น
![]() |
กล้วยเล็บมือนาง |
11. กล้วยเล็บมือนาง เป็นกล้วยกลายพันธุ์มาจากกล้วยป่าปลูกันมากทางภาคใต้โดยเฉพาะที่จังหวัด
ชุมพร อำเภอหลังสวน นับเป็นกล้วยที่แพร่หลายมากชนิดหนึ่ง (คนนครศรีธรรมราชเรียกว่า
กล้วยหมาก พัทลุงเรียกว่า กล้วยทองหมาก นครสวรรณ์เรียกว่า กล้วยเล็บมือ
เลยเรียกว่า กล้วยหอม) มีลำต้นผอมสูง กาบด้านนอกสีชมพูอมแดง
ผลมีขนาดเล็กเท่านิ้วมือ ปลายยาวเรียว โค้งงอ ปลายผลมีจุกสีดำเล้กแหลมเป็นก้านเกสร
เรียกว่า "เล็บ" ใน 1 หวี มีผลแน่นมากประมาณ 30-40 ผล ผลสุกสีเหลืองทอง เนื้อในสีเหลืองกลิ่นหอมแรง
รสหวาน หอม เนื้อนุ่ม กินสุกเป็นผลไม้ แปรรูปเป็นกล้วยตาก และกล้วยฉาบอบใบเตย
12. กล้วยเทพรส หรือเรียกกันว่า กล้วยสิ้นปลี หรือกล้วยปลีหาย เพราะเวลาตกเครือปลีจะหดหายไป กล้วยเทพรสในหนึ่งเครือมี 5-7 หวี แต่ละหวีมีราว 11 ผล ลักษณะผลมีขนาดใหญ่ มีสันเหลี่ยมตามเปลือกผลชัดเจน ปลายผลทู่ก้านผลยาว ผลดิบสีเขียวหม่น เมื่อแก่จัดมีสีเขียวอมเทาผลสุกเปลือกสีเหลืองส้ม เนื้อในสีครีม นำไปฉาบ เชื่อม ต้ม หรือเผากิน เนื้อจะเหนียวและหวาน
13. กล้วยน้ำไท เป็นกล้วยที่ครั้งหนึ่งเคยใช้ในการเช่นสรางเทพยดาฟ้าดินไหว้ครูร่วมกับขนม ต้มแดง ขนมต้มขาว หัวหมู ส้มสูกลูกไม้อื่น ๆ แต่ความที่เป็นกล้วยหายาก ในปัจจุบันจึงใช้กล้วยน้ำว้าแทน กล้วยน้ำไทยผลสั้นกว่ากล้วยหอม ผลสุกผิวสีเหลืองอร่าม เนื้อกล้วยเหนียวคล้ายกล้วยน้ำว้า รสหาวเข้มคล้ายกล้วยหอม บางท้องถิ่นเรียกว่า กล้วยหอมน้อย
คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
กล้วย มีคุณค่าอาหารสูง ให้พลังงาน 100 แคลอรีต่อ 100 กรัม กล้วยสุกย่อยง่าย ให้คาร์โบไฮเดรต และวิตามินเอสูง มีการวิจัยพบว่า กล้วยน้ำว้ามีโปรตรีนใกล้เคียงกับนมแม่มาก กล้วยสุกจึงเป็นอาหารเสริมที่ดีที่สุดสำหรับทารก (ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป) ส่วนคนสูงอายุเชื่อว่ากินกล้วยน้ำว้าแช่น้ำผึ้งทุกวันจะช่วยให้สุขภาพแข็ง แรง และเป็นยาอายุวัฒนะ ทั้งกล้วยดิบและกล้วยสุกนำมาใช้แก้อาการผิดปกติของทางเดินอาหาร กล้วยหักมุกหรือกล้วย
12. กล้วยเทพรส หรือเรียกกันว่า กล้วยสิ้นปลี หรือกล้วยปลีหาย เพราะเวลาตกเครือปลีจะหดหายไป กล้วยเทพรสในหนึ่งเครือมี 5-7 หวี แต่ละหวีมีราว 11 ผล ลักษณะผลมีขนาดใหญ่ มีสันเหลี่ยมตามเปลือกผลชัดเจน ปลายผลทู่ก้านผลยาว ผลดิบสีเขียวหม่น เมื่อแก่จัดมีสีเขียวอมเทาผลสุกเปลือกสีเหลืองส้ม เนื้อในสีครีม นำไปฉาบ เชื่อม ต้ม หรือเผากิน เนื้อจะเหนียวและหวาน
13. กล้วยน้ำไท เป็นกล้วยที่ครั้งหนึ่งเคยใช้ในการเช่นสรางเทพยดาฟ้าดินไหว้ครูร่วมกับขนม ต้มแดง ขนมต้มขาว หัวหมู ส้มสูกลูกไม้อื่น ๆ แต่ความที่เป็นกล้วยหายาก ในปัจจุบันจึงใช้กล้วยน้ำว้าแทน กล้วยน้ำไทยผลสั้นกว่ากล้วยหอม ผลสุกผิวสีเหลืองอร่าม เนื้อกล้วยเหนียวคล้ายกล้วยน้ำว้า รสหาวเข้มคล้ายกล้วยหอม บางท้องถิ่นเรียกว่า กล้วยหอมน้อย
คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
กล้วย มีคุณค่าอาหารสูง ให้พลังงาน 100 แคลอรีต่อ 100 กรัม กล้วยสุกย่อยง่าย ให้คาร์โบไฮเดรต และวิตามินเอสูง มีการวิจัยพบว่า กล้วยน้ำว้ามีโปรตรีนใกล้เคียงกับนมแม่มาก กล้วยสุกจึงเป็นอาหารเสริมที่ดีที่สุดสำหรับทารก (ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป) ส่วนคนสูงอายุเชื่อว่ากินกล้วยน้ำว้าแช่น้ำผึ้งทุกวันจะช่วยให้สุขภาพแข็ง แรง และเป็นยาอายุวัฒนะ ทั้งกล้วยดิบและกล้วยสุกนำมาใช้แก้อาการผิดปกติของทางเดินอาหาร กล้วยหักมุกหรือกล้วย
กระท้อน (Santol)
กระท้อน (Santol)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Sandoricum indicum
กระท้อนในภาคอีสานเรียกว่า หมากต้อง
และบักต้อง ภาคเหนือเรียกว่ามะตึ่น และมะต้อง ภาคใต้เรียกว่า ล่อน เตียน สะตียา
สะตู และสะโต ส่วนแถบมลายูเรียกว่า แซนทอล
ถิ่นกำเนิดของกระท้อนอยู่ในแถบมลายูและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณ ใกล้เส้นศูนย์สูตร พบในประเทศไทย 2 ชนิด คือ กระท้อนป่า (Sandoricum Koetjape Merr.) และกระท้อนหวาน (Sandoricum indicum Cav.) สมัยก่อนคนไทยนิยมปลูกกระท้อนในสวนและตามบ้าน เพื่อเอาไว้เก็บกินผลและอาศัยร่มเงา
กระท้อนเป็นไม้ยืนต้นทรงพ่มขนาดกลางถึงใหญ่มีอายุยืนยาวนับร้อยปี ใบขนาดใหญ่ ปลายใบแหลมสีเขียวเข้ม ดอกกระท้อนออกเป็นช่อ แต่ละช่อมีดอกเล็ก ๆ สีขาวครีม ผลกระท้อนมีรูปทรงค่อนข้างกลมหรือกลมแป้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 10-15 ซม. ผลดิบสีเขียว ผิวเกลี้ยงผลสุกสีเหลืองทอง หรือสีน้ำตาลอ่อน ผิวหยาบ มีรอยย่นบนผิวตามแนวยาวของผล ส่วนเนื้อติดเมล็ดสีขาวเป็นปุยเนื้อกระท้อนเกาะกันเป็นพู แต่ละผลมีประมาณ 3-5 พู แต่ละพูมี 1 เมล็ด เนื้อกระท้อนรสหวานอมเปรี้ยว บางพันธุ์หวาน บางพันธุ์เปรี้ยว เนื้อที่ติดกับเปลือกสามารถนำมากินได้ รสเปรี้ยวอมฝาด กระท้อนที่ให้ผลในปีแรกจะมีจุกยื่นออกมาตรงบริเวณขั้ว เรียกกระท้อนปีแรกนี้ว่า สอนเป็น เมื่อออกผลได้ 4-5 ปี กระท้อนจะให้ผลกลมแป้น ไม่มีจุก แม้รูปทรงจะเปลี่ยนไป แต่รสชาติยังคงเหมือนเดิม
กระท้อนเป็นไม้ผลที่สามารถทนแล้งได้ดีเยี่ยม ให้ผลผลิตช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายน ปลูกได้ทุกภาคทั่วประเทศ กระท้อนปลูกมากที่จังหวัดนนทบุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี พิษณุโลก และสุราษฎร์ธานี การดูแลรักษา ควรมีการให้น้ำ ตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย และการกำจัดวัชพืช
กระท้อนกินได้ทั้งเนื้อที่เป็นปุยสีขาวและเนื้อไต้เปลือกนิยมกิน เป็นผลไม้สดจิ้มพริกกับเกลือ หรือน้ำปลาหวาน ใช้ปรุงเป็นอาหารคาวหวานได้หลายชนิด เช่น แกงกบกระท้อน แกงอ่อมปลาดุก แกงฮังเลกระท้อน แกงคั่วกระท้อน (แทนสับประรด) ผัดเมี่ยง ตำกระท้อน กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว น้ำกระท้อน กระท้อนดอง กระท้อนในน้ำเชื่อม กระท้อนแช่อิ่ม แยมกระท้อน กระท้อนกวน และเยลลี่กระท้อน เป็นต้น
กระท้อนที่นิยมปลูกมี 3 พันธุ์ คือ กระท้อนพันธุ์นิ่มนวล เป็นกระท้อนที่ให้ผลดก ลักษณะผลกลมแป้นขนาดปานกลาง ผิวเปลือกเรียบ มีสีขาวอมน้ำตาล เปลือกบาง เนื้อหนานิ่ม รสหวานอมเปรี้ยวมีปุยหุ้มเมล็ดหนาฟู รสหวานจัด เมล็ดมีขนาดปานกลาง กระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย เป็นกระท้อนที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์ทองหยิบ ผลใหญ่ทรงกลมแป้น ไม่มีจก ผิวผลเนียนละเอียด เมื่อจับดูนิ่มเหมือนกำมะหยี่ เนื้อในเป็นปุยสีขาวรสหวานสนิท เก็บผลผลิตช่วงเดือนมิถุนายน ปลูกมากที่จังหวัดปราจีนบุรี กระท้อนพันธุ์อีล่า เป็นกระท้อนที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์อีไหว เหตุที่คนสมัยก่อนเรียกชื่ออีล่า เพราะออกผลช้ากว่าพันธุ์อื่น (ล่า แปลว่า ช้า ) อีล่ามีผลใหญ่กว่าพันธุ์อื่น ๆ เมื่อแก่จัดเปลือกนอกจะเป็นสีเหลืองเข้มหรือน้ำตาลอ่อนเปลือกบาง เนื้อเป็นปุยสีขาวนิ่มมาก ปลูกมากที่จังหวัดนนทบุรีและปราจีนบุรี อีล่าที่มาจากจังหวัดนนทบุรีมีรสหวานสนิท ส่วนที่มาจากจังหวัดปราจีนบุรีมีรสหวานอมเปรี้ยวเก็บผลผลิตช่วงเดือน มิถุนายนถึงกรกฎาคม
ถิ่นกำเนิดของกระท้อนอยู่ในแถบมลายูและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณ ใกล้เส้นศูนย์สูตร พบในประเทศไทย 2 ชนิด คือ กระท้อนป่า (Sandoricum Koetjape Merr.) และกระท้อนหวาน (Sandoricum indicum Cav.) สมัยก่อนคนไทยนิยมปลูกกระท้อนในสวนและตามบ้าน เพื่อเอาไว้เก็บกินผลและอาศัยร่มเงา
กระท้อนเป็นไม้ยืนต้นทรงพ่มขนาดกลางถึงใหญ่มีอายุยืนยาวนับร้อยปี ใบขนาดใหญ่ ปลายใบแหลมสีเขียวเข้ม ดอกกระท้อนออกเป็นช่อ แต่ละช่อมีดอกเล็ก ๆ สีขาวครีม ผลกระท้อนมีรูปทรงค่อนข้างกลมหรือกลมแป้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 10-15 ซม. ผลดิบสีเขียว ผิวเกลี้ยงผลสุกสีเหลืองทอง หรือสีน้ำตาลอ่อน ผิวหยาบ มีรอยย่นบนผิวตามแนวยาวของผล ส่วนเนื้อติดเมล็ดสีขาวเป็นปุยเนื้อกระท้อนเกาะกันเป็นพู แต่ละผลมีประมาณ 3-5 พู แต่ละพูมี 1 เมล็ด เนื้อกระท้อนรสหวานอมเปรี้ยว บางพันธุ์หวาน บางพันธุ์เปรี้ยว เนื้อที่ติดกับเปลือกสามารถนำมากินได้ รสเปรี้ยวอมฝาด กระท้อนที่ให้ผลในปีแรกจะมีจุกยื่นออกมาตรงบริเวณขั้ว เรียกกระท้อนปีแรกนี้ว่า สอนเป็น เมื่อออกผลได้ 4-5 ปี กระท้อนจะให้ผลกลมแป้น ไม่มีจุก แม้รูปทรงจะเปลี่ยนไป แต่รสชาติยังคงเหมือนเดิม
กระท้อนเป็นไม้ผลที่สามารถทนแล้งได้ดีเยี่ยม ให้ผลผลิตช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายน ปลูกได้ทุกภาคทั่วประเทศ กระท้อนปลูกมากที่จังหวัดนนทบุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี พิษณุโลก และสุราษฎร์ธานี การดูแลรักษา ควรมีการให้น้ำ ตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย และการกำจัดวัชพืช
กระท้อนกินได้ทั้งเนื้อที่เป็นปุยสีขาวและเนื้อไต้เปลือกนิยมกิน เป็นผลไม้สดจิ้มพริกกับเกลือ หรือน้ำปลาหวาน ใช้ปรุงเป็นอาหารคาวหวานได้หลายชนิด เช่น แกงกบกระท้อน แกงอ่อมปลาดุก แกงฮังเลกระท้อน แกงคั่วกระท้อน (แทนสับประรด) ผัดเมี่ยง ตำกระท้อน กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว น้ำกระท้อน กระท้อนดอง กระท้อนในน้ำเชื่อม กระท้อนแช่อิ่ม แยมกระท้อน กระท้อนกวน และเยลลี่กระท้อน เป็นต้น
กระท้อนที่นิยมปลูกมี 3 พันธุ์ คือ กระท้อนพันธุ์นิ่มนวล เป็นกระท้อนที่ให้ผลดก ลักษณะผลกลมแป้นขนาดปานกลาง ผิวเปลือกเรียบ มีสีขาวอมน้ำตาล เปลือกบาง เนื้อหนานิ่ม รสหวานอมเปรี้ยวมีปุยหุ้มเมล็ดหนาฟู รสหวานจัด เมล็ดมีขนาดปานกลาง กระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย เป็นกระท้อนที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์ทองหยิบ ผลใหญ่ทรงกลมแป้น ไม่มีจก ผิวผลเนียนละเอียด เมื่อจับดูนิ่มเหมือนกำมะหยี่ เนื้อในเป็นปุยสีขาวรสหวานสนิท เก็บผลผลิตช่วงเดือนมิถุนายน ปลูกมากที่จังหวัดปราจีนบุรี กระท้อนพันธุ์อีล่า เป็นกระท้อนที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์อีไหว เหตุที่คนสมัยก่อนเรียกชื่ออีล่า เพราะออกผลช้ากว่าพันธุ์อื่น (ล่า แปลว่า ช้า ) อีล่ามีผลใหญ่กว่าพันธุ์อื่น ๆ เมื่อแก่จัดเปลือกนอกจะเป็นสีเหลืองเข้มหรือน้ำตาลอ่อนเปลือกบาง เนื้อเป็นปุยสีขาวนิ่มมาก ปลูกมากที่จังหวัดนนทบุรีและปราจีนบุรี อีล่าที่มาจากจังหวัดนนทบุรีมีรสหวานสนิท ส่วนที่มาจากจังหวัดปราจีนบุรีมีรสหวานอมเปรี้ยวเก็บผลผลิตช่วงเดือน มิถุนายนถึงกรกฎาคม
คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณ:
กระท้อน เป็นผลไม้มีสารแอนติออกซิแดนท์สูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดมะเร็ง บำรุงโลหิต แก้ลมจุกเสียด เนื้อกระท้อนอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม เหล็ก ไนอะซิน วิตามินเอ วิตามินบี 1 และวิตามินซี ใบ ผสมน้ำต้มอาบขับเหงื่อ แก้ไข้ รักษาโรคผิวหนัง ราก ใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้มาลาเรีย แก้บิด แก้ท้องร่วง หรือตำกับน้ำและน้ำส้มสายชู ดื่มแก้ท้องเดิน และช่วยขับลม
กระท้อน เป็นผลไม้มีสารแอนติออกซิแดนท์สูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดมะเร็ง บำรุงโลหิต แก้ลมจุกเสียด เนื้อกระท้อนอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม เหล็ก ไนอะซิน วิตามินเอ วิตามินบี 1 และวิตามินซี ใบ ผสมน้ำต้มอาบขับเหงื่อ แก้ไข้ รักษาโรคผิวหนัง ราก ใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้มาลาเรีย แก้บิด แก้ท้องร่วง หรือตำกับน้ำและน้ำส้มสายชู ดื่มแก้ท้องเดิน และช่วยขับลม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)